ผู้ชม
1
เนื้อหา
74
เนื้อหาที่เปิดอ่าน
8936843

สารบัญ

พื้นฐานการใช้งาน Windows Vista

สำหรับพื้นฐานการใช้งานก็ไม่มีอะไรมากมายนัก ส่วนใหญ่ก็คล้ายกับ วินโดว์ XP แต่บางส่วนก็จะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในหัวข้อนี้จึงแบ่งการใช้งานออกเป็น เริ่มตั้งแต่การเข้าสู่ ระบบปฏิบัติการ ส่วนประกอบต่าง ๆ ของ Windows Vista ไอคอนสำคัญ ๆ ส่วนประกอบของ หน้าต่างโปรแกรมและงาน การใช้คำสั่ง และกล่องโต้ตอบ (Dialog box) การกำหนดขนาด ตำแหน่งของหน้าต่าง การออกจากระบบปฏิบัติการ พื้นฐานการใช้เมาส์และคีย์บอร์ด พื้นฐานการใช้ Windows Vista การเปิดโปรแกรมทาง หน้าต่าง Computer การปิดโปรแกรม และการปิดเครื่องเมื่อเกิดปัญหา

พื้นฐานการใช้เมาส์และคีย์บอร์ด

ก่อนที่จะเข้าสู่โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Windows Vista เราควรมาทำความรู้จักคุ้นเคยกับ
อุปกรณ์นำเข้าที่จำเป็นต้องใช้ในงานคอมพิวเตอร์เสียก่อน นั่นก็คือ พื้นฐานการใช้เมาส์และ
คีย์บอร์ด

1. พื้นฐานการใช้เมาส์
เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการสั่งงานต่าง ๆ บนวินโดวส์ ปกติ เมาส์จะใช้งานร่วมกับคีย์บอร์ด เราสามารถใช้เมาส์ในการจับต้องรายการต่าง ๆ บน หน้าจอได้เช่นเดียวกับการใช้มือจับต้องวัตถุต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยสามารถย้าย วัตถุ เปิดวัตถุ เปลี่ยนแปลงวัตถุหรือลบวัตถุได้ โดยมีรูปแบบการใช้ ดังนี้

เมาส์

รูป แสดง ลักษณะของ เมาส์

- ลักษณะของเมาส์
Normal Select สถานะปกติที่ใช้เลือกหรือชี้ส่วนต่าง ๆ ในจอภาพ
Busy บอกถึงสถานะที่โปรแกรมกำลังทำงานอยู่ (ไม่ว่าง)
Wait บอกถึงสถานะที่โปรแกรมกำลังมาให้คอยก่อน
Text Select (Cursor) บอกถึงสถานะและตำแหน่งการพิมพ์งาน
Link บอกถึงสถานะในการเชื่อมโยงข้อมูล
Move บอกถึงสถานะในการย้ายหรือเคลื่อนที่
Size บอกถึงสถานะในการปรับลดหรือเพิ่มขนาด
Help บอกถึงสถานะในการให้ความช่วยเหลือ
No บอกถึงสถานะไม่ให้ทำงานนั้น

นอกจากนี้ในบางโปรแกรม เช่น โปรแกรมแต่งรูป อาจมีการกำหนดลักษณะของ เมาส์ (Pointer) ให้มีรูปร่างสวยงามและแตกต่างกันไปตามคำสั่งที่กำลังใช้งาน เพื่อช่วยให้เรา สามารถแยกแยะลักษณะของคำสั่งการทำงาน ตลอดจนช่วยอำนวยความสะดวกให้ใช้คำสั่งนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

- การใช้เมาส์ธรรมดาทั่วไป

การเลื่อนตัวชี้ (Pointer) เป็นการเลื่อนเมาส์ไปบนโต๊ะ หรือแผ่นรองเมาส์ (Mouse pad) เพื่อให้ตัวชี้เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการ

- คลิก (Click) การกดปุ่มซ้ายของเมาส์แล้วปล่อยทันที
- ดับเบิลคลิก (Double Click) เป็นการกดปุ่มซ้ายของเมาส์ 2 ครั้ง ต่อเนื่องกัน
- คลิกปุ่มขวา (Right Click) เป็นการกดปุ่มขวาของเมาส์แล้วปล่อย ทันที
- ลากและปล่อย (Drag & Drop) เป็นการกดปุ่มซ้ายของเมาส์ค้างไว้ แล้วลากไปปล่อยในตำแหน่งที่ต้องการ

- การใช้ Scroll Mouse

เป็นเมาส์ที่มีล้อเล็ก (Wheel) อยู่ระหว่างปุ่มซ้ายและปุ่มขวาของเมาส์ ล้อจะทำ หน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ ได้ ดังนี้

- Roll wheel เป็นการเลื่อน Scrollbar ขึ้นหรือลงตามทิศทางการหมุน ขึ้นหรือลงของล้อ
- Drag wheel เป็นการจับเอกสารเลื่อนได้ทุกทิศทาง
- Ctrl + wheel roll เป็นการขยายเอกสารให้ใหญ่ขึ้นหรือลดขนาดลง
- Shift + wheel roll เป็นการขยายหรือย่อส่วนโครงสร้างข้อมูลคล้าย กับ Outline

2. พื้นฐานการใช้คีย์บอร์ด
คีย์บอร์ด (Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้อนข้อมูล ซึ่งอยู่ในรูปของตัวอักษร ตัวเลขและเครื่องหมายต่าง ๆ นอกจากนี้ยังใช้สำหรับสั่งคำสั่งต่าง ๆ ได้ ดังหัวข้อต่อไปนี้

คีย์บอร์ด (Keyboard)

รูป แสดง ลักษณะของคีย์บอร์ด

คีย์ลัดสำหรับใช้งาน Desktop และ Window

คีย์ลัด
ผลลัพ
- กดปุ่ม SHIFT ขณะใส่แผ่นซีดีรอม
- ยกเลิกการอ่านซีดีโดยอัตโนมัติเมื่อเราใส่ แผ่นซีด
- กดปุ่ม CTRL ขณะ Drag Mouse ไฟล์ที่ ต้องการคัดลอก
- คัดลอกไฟล์
- กดปุ่ม SHIFT+DELETE เมื่อต้องการลบไฟล์
- ลบไฟล์โดยไม่ต้องใส่ลงไปในถังขยะ
- กดปุ่ม CTRL+SHIFT ขณะที่ Drag Mouse ไฟล์ที่ต้องการสร้าง Shortcut
- สร้างไอคอน Shortcut
- กดปุ่ม CTRL+A
- เลือกไฟล์ทั้งหมดอย่างรวดเร็ว
- กดปุ่ม ALT+ENTER หรือกดปุ่ม ALT+Double Click
- ดูคุณสมบัติ (Properties) ที่เราเลือก
- กดปุ่ม ALT+F4
- ปิดหน้าต่างงาน/โปรแกรม/ปิดเครื่อง (Shut Down)
- กดปุ่ม CTRL+ESC
- เรียก Start Menu
- กดปุ่ม CTRL+TAB
- สลับการทำงานระหว่างปุ่ม Start, Quick Launch และ Icon บน Desk top
- กดปุ่ม WINDOWS +TAB
- เรียงหน้าต่างแบบสามมิติ (Flip 3D)
- กดปุ่ม F1
- เรียกใช้งาน Help
- กดปุ่ม F2
- เปลี่ยนชื่อไฟล์ที่เราเลือกอยู่อย่างรวดเร็ว
- กดปุ่ม F3
- แสดงหน้าจอการค้นหาไฟล์และโฟลเดอร์
- กดปุ่ม F5
- รีเฟรซข้อมูลที่อยู่ในหน้าต่างที่เลือกอยู่ใน ขณะนั้น
- กดปุ่ม ALT+LEFT ARROW
- ย้อนกลับไปหน้าที่แล้ว
- กดปุ่ม ALT+RIGHT ARROW
- ไปหน้าถัดไป
- กดปุ่ม LEFT ARROW
- เลื่อนขึ้นไปหนึ่ง Sub Folder
- กดปุ่ม RIGHT ARROW
- เลื่อนลงไปหนึ่ง Sub Folder
- กดปุ่ม NUM LOCK + *
- เลื่อนลงไปทุก Sub Folder ที่เราเลือกอยู่
- กดปุ่ม F6
- เลื่อนไปยังส่วนต่าง ๆ ของ Windows Explorer

 

 

คีย์ลัดสำหรับใช้งานในส่วนของ Folder

คีย์ลัด
ผลลัพ
- กดปุ่ม F10 หรือ ALT
- เรียกใช้ Menu Bar (กรณีเรียกแถบเมนูมาใช้งาน)
- กดปุ่ม ALT+อักษรหน้าเมนู
- เปิดเมนู เช่น ALT+F ใช้เปิดเมนู File
- กดปุ่ม CTRL+F4
- ปิดหน้าเอกสารที่เปิดอยู่หลาย ๆ หน้า
- กดปุ่ม ALT+F4
- ปิดโปรแกรมที่เปิดอยู่
- กดปุ่ม CTRL+C
- คัดลอกส่วนที่เราเลือกอยู่
- กดปุ่ม CTRL+X
- ตัดส่วนที่เราเลือกอยู่เพื่อนำไปวางไว้ที่อื่น
- กดปุ่ม CTRL+V
- วางส่วนที่เราคัดลอกมา
- กดปุ่ม CTRL+Z
- ยกเลิกการกระทำที่เราได้ทำมาแล้ว
- กดปุ่ม DELETE
- ลบส่วนที่เราทิ้งอยู่ทิ้งไป
- กดปุ่ม ALT+SPACEBAR
- แสดงส่วนของ Control Menu ของหน้าต่างที่เปิดอยู่
- กดปุ่ม SHIFT+F10
- แสดงส่วนของ Shortcut menu
- กดปุ่ม ALT+TAB
- สลับหน้าต่างโปรแกรมที่ทำงานอยู่
- กดปุ่ม CTRL+S
-ใช้บันทึก (Save) ข้อมูลของไฟล์โปรแกรม
- กดปุ่ม CTRL+ALT+DEL
ี่-เรียกกล่องโต้ตอบ Task Manager เพื่อปิดโปรแกรม ALT+E หรือปิดเครื่อง ALT+S

 

ในปัจจุบัน คีย์บอร์ดรุ่นใหม่จะมีปุ่ม Wake Up, Sleep และ Power เพิ่มมาให้ ซึ่งปุ่มทั้ง 3 นี้ใช้เพื่อให้เราสามารถปิดเครื่องหรือพักเครื่องได้โดยกดปุ่มเพียงครั้งเดียว โดยหากเรากดปุ่ม Power Windows Vista จะปิดเครื่องให้โดยอัตโนมัติ หรือถ้าหากกดปุ่ม Sleep Windows Vista ก็จะ เข้าสู่สถานะประหยัดพลังงาน โดยมอนิเตอร์ พัดลมระบายความร้อนฮาร์ดดิสก์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ติดตั้งอยู่ จะถูกทำให้หยุดทำงานชั่วคราว หรืออยู่ในสถานะที่ใช้พลังงานน้อยที่สุดได้ ซึ่งหากเรา ต้องการกลับมายังสถานะการทำงานปกติ สามารถกดปุ่ม Wake Up หรือปุ่มใด ๆ บนคีย์บอร์ดก็ได้

พื้นฐานการใช้วินโดวส์

วินโดวส์ (Windows) หรือที่แปลว่า หน้าต่าง นั้น เกิดมาจากแนวคิดที่ต้องการสร้าง ระบบปฏิบัติการแนวใหม่ขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานเพื่อเปิดและเข้าถึงไฟล์หรือคำสั่งต่าง ๆ ได้ง่าย ซึ่งในระบบของไฟล์นั้นจะประกอบด้วย ไดเรกทอรี่ (หรือที่เรียกกันในวินโดวส์ว่า โฟลเดอร์) และไฟล์เอกสารต่าง ๆ ซึ่งไดเรกทอรี่หรือโฟลเดอร์นี้ ก็เปรียบเสมือนกล่องหรือห้อง ที่

ทางบริษัทไมโครซอฟท์จึงได้พยายามคิดค้นและออกแบบ ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่ มียูสเซอร์อินเตอร์เฟส (คือ หน้าจอของโปรแกรมที่ทำขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งานเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ ได้ง่าย) ที่ใช้งานได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ จนในปัจจุบันซึ่งได้พัฒนาระบบปฏิบัติการใหม่มาเป็น Windows Vista นี้ แทบจะเรียกได้ว่า สำหรับผู้ที่ไม่เคยสัมผัสกับคีย์บอร์ด หรือเมาส์แม้แต่ครั้งเดียว ในชีวิต ก็จะสามารถเรียกโปรแกรมใด ๆ ที่ติดตั้งอยู่ในวินโดวส์เปิดขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย โดยมี ผู้ให้คำแนะนำเพียงเล็กน้อย และใช้เวลาไม่เกิน 5 นาทีเท่านั้นเอง

1. การเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows Vista
การเข้าสู่ระบบปฏิบัติการของ Windows Vista ก็ไม่ยากเลย เพียงแต่เราเสียบ ปลั๊กไฟ แล้วกดสวิตช์เพื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา จากนั้นก็นั่งรอโดยในขณะนี้วินโดวส์จะ รันตัวเองโดยอัตโนมัติและประมาณไม่ถึง 1 นาที เราก็พร้อมที่จะใช้งาน Windows Vista ได้ทันที (สำหรับ Windows Vista ที่พึ่งจะติดตั้งเสร็จใหม่สด ๆ ร้อน ๆ เพราะหากเราติดตั้งโปรแกรมลงใน วินโดวส์มาก ก็จะเข้าสู่ Windows Vista ได้ช้าลง)

2. ส่วนประกอบหน้าแรกของ Windows Vista
เมื่อเข้าสู่วินโดวส์แล้วเราจะสามารถเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ เพื่อเปิด/ปิดโปรแกรม หรือ จัดการไฟล์ต่าง ๆ ผ่านทางหน้าจอของ Windows Vista ซึ่งจะแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ที่มีหน้าที่ แตกต่างกันไป แต่จุดประสงค์หลัก ก็คือ ต้องการให้เราสามารถใช้งาน Windows Vista ได้สะดวก ง่าย และมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยส่วนประกอบต่าง ๆ ของ Windows Vista มีดังนี้

คลิกเพื่อดูภาพขยาย

รูป แสดง ส่วนประกอบของหน้าตาเมื่อเข้าสู่ Windows Vista

- เดสก์ทอป (Desktop)
คือ พื้นที่หน้าจอส่วนใหญ่ของ Windows Vista ซึ่งใช้แสดงไอคอนและ หน้าต่างของโปรแกรมต่าง ๆ ที่เราเปิดขึ้นใช้งาน

- ไอคอน (Icon)
เป็นรูปภาพ (หรือสัญลักษณ์) ของไฟล์ หรือโปรแกรมที่วินโดวส์จัดเตรียม ไว้ เพื่อให้เราสามารถเรียกใช้โปรแกรมเหล่านี้ได้สะดวก โดยรูปของไอคอนจะแบ่งตามชนิดของ ไฟล์ (File Types) เช่น ไฟล์เอกสารของโปรแกรม Microsoft Word คือ ชื่อไฟล์ .docx ก็จะมีรูปของ ไอคอนเป็นรูปตัวอักษร เหมือนกัน และจะแตกต่างจากไฟล์ชนิดของโปรแกรมชนิดอื่น ๆ

- ไฟล์ (File) กับ ช็อตคัต (Shortcut)
ไฟล์เปรียบเสมือนเอกสารซึ่งเก็บข้อมูลไว้ โดยไฟล์จะแบ่งออกเป็นชนิด ต่าง ๆ ตามลักษณะการใช้งานและชนิดของโปรแกรมที่ใช้กับไฟล์นั้น ๆ ซึ่งสามารถแบ่งไฟล์ออก ประเภทต่าง ๆ เช่น ชื่อไฟล์ . exe, ชื่อไฟล์ .com และ ชื่อไฟล์ .bat เป็นต้น

สำหรับ Shortcut เปรียบเสมือนไฟล์ที่เป็นตัวแทนของไฟล์ต้นฉบับนั้น ๆ โดยจะเป็นไฟล์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับเชื่อมโยง (หรือที่เรียกว่า ลิงค์: Link) ไปยังไฟล์ต้นฉบับ ที่แท้จริง เพื่อให้เราสามารถเรียกหรือเปิดไฟล์นั้น ๆ ขึ้นมาได้อย่างสะดวก โดยเราจะสังเกตเห็นถึง ความแตกต่างระหว่างไอคอนที่เป็นไฟล์ต้นฉบับจริง และไฟล์ที่เป็น Shortcut ได้คือ ไอคอนของ ไฟล์ที่เป็น Shortcut จะมีรูปลูกศรอยู่ที่มุมด้านล่างซ้ายของไอคอนนั้น ๆ เสมอ โดยไอคอนต่าง ๆ ที่ อยู่ในแถบ Quick Launch (คือแถบที่รวบรวมไอคอนของโปรแกรมต่าง ๆ โดยจะปรากฏอยู่บนแถบ ทาสก์บาร์ข้าง ๆ ปุ่ม Start) และปุ่ม Start ก็เป็นเมนูที่รวบรวมคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งก็เป็นไอคอนของ Shortcut ทั้งหมด แต่ไอคอนเหล่านี้จะไม่มีรูปลูกศรปรากฏให้เห็น ไฟล์ชนิดนี้สามารถลบได้โดยไม่ มีผลกระทบต่อโปรแกรมแต่อย่างใด

- โฟลเดอร์ (Folder)
เปรียบเสมือนกล่องหรือห้องที่ใช้สำหรับเก็บไฟล์ต่าง ๆ นั่นเอง

- ทาสก์บาร์ (Task bar)
เป็นแถบที่ใช้สำหรับเก็บ Shortcut ที่อยู่ในปุ่ม Start Quick Launch และ Notification Area เพื่อเรียกโปรแกรมและคำสั่งต่าง ๆ และยังเป็นแถบที่ใช้สำหรับแสดงปุ่มของ โปรแกรมที่ถูกเปิดขึ้น เพื่อให้เราสามารถเลือกและสลับการทำงานไปมาระหว่างโปรแกรมแต่ละตัว ได้

- ปุ่มเริ่มต้น (Start)
เป็นปุ่มที่ใช้เปิดเมนูบนทาสก์บาร์ มีหน้าที่หลักสำคัญคือ เก็บ Shortcut ของ โปรแกรมต่าง ๆ ที่ถูกติดตั้งในวินโดวส์เพื่อให้เราสามารถเรียกใช้และเปิดโปรแกรมเหล่านี้ได้ สะดวก

- Quick Launch
เป็นแถบพิเศษที่คล้ายกับปุ่ม Start และสร้างขึ้นมาเพื่อให้เราเรียกใช้และเปิด โปรแกรมที่เราต้องการใช้บ่อย ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพราะการเก็บ Shortcut ของโปรแกรมไว้ใน Quick Launch จะใช้การคลิกเมาส์เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

- Notification Area
เป็นพื้นที่ด้านล่างตรงมุมขวาของ Taskbar มีไว้สำหรับทำหน้าที่ประกาศ หรือแสดงสถานะการทำงานของระบบ เช่น วัน เวลา โมเด็ม ภาษาที่ใช้ หรือสถานะการพิมพ์ เป็น ตัวปรับเสียงดังหรือเสียงค่อย ๆ เป็นต้น ต้องดับเบิลคลิกเปิดโปรแกรม หรือคลิกขวาเพื่อเปิดเมนู

3. Icon สำคัญบน Desktop
- Documents
เป็น Object หรือโฟลเดอร์ สำหรับจัดเก็บไฟล์เอกสารต่าง ๆ ที่เปิดขึ้นมาใช้ โดยโปรแกรมใช้งานแต่ละโปรแกรม

คลิกเพื่อขยายภาพ

รูป แสดงหน้าต่างของ Documents

- Computer
เป็น Object สำหรับจัดการกับทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ นั้น ๆ เช่น Disk Drive, CD/DVD Drive ฯลฯ

คลิกเพื่อขยายภาพ

รูป แสดงหน้าต่างของ Computer

- Recycle Bin
เป็น Object ที่ทำหน้าที่เก็บไฟล์ต่าง ๆ ที่ได้สั่งลบทิ้งไปแล้ว ซึ่งถ้าต้องการ นำมาใช้ใหม่อีกก็สามารถทำได้ หรือจะลบทิ้งออกไปเลยก็ได้

คลิกเพื่อขยายภาพ

รูป แสดง หน้าต่างของ Recycle Bin

- Network
เป็น Object ที่ใช้สำหรับอำนวยความสะดวกในการใช้งานระบบเครือข่ายที่ เชื่อมต่อกันอยู่โดยสามารถเปิด Object นี้ขึ้นมาได้ ดังรูป

รูป แสดงหน้าต่างของ Internet Explorer 7

- Desktop Area
เป็นส่วนที่เป็นพื้นที่ใช้สอย ซึ่งสามารถสร้างและเปิดโปรแกรมใช้งานไฟล์ เอกสาร ไอคอน เครื่องพิมพ์ และสามารถเปลี่ยนสีสันลวดลายให้กับ Desktop ได้ตามต้องการดังรูป

รูป แสดง หน้าตาของ Desktop Area

- ส่วนประกอบของหน้าต่าง (Window)
เมื่อเราดับเบิลคลิกไอคอนที่มีรูปสัญลักษณ์สื่อถึงงาน โปรแกรม โฟลเดอร์ ไฟล์ หรือช็อตคัต ก็จะได้หน้าต่างงานนั้น ๆ เปิดขึ้นมา โดยจะมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี

รูป แสดงส่วนประกอบของหน้าต่าง (Window) มี Layout แบ่งออกเป็นบาน (Panes)

รูป แสดงรายละเอียดส่วนประกอบของหน้าต่าง (Window)

- Title bar
เป็นแถบที่ใช้ควบคุมวินโดวส์ของงาน/โปรแกรม

รูป แสดง การใช้ Title bar ควบคุมหน้าต่าง

รายการคำสั่งที่เกิดจาก Control Menu บน Title Bar ดังต่อไปนี้
- Close ใช้ปิดวินโดวส์หรือออกจากโปรแกรม
- Maximize ใช้ขยายวินโดวส์ให้เต็มจอ
- Restore คืนค่าปรับขนาดของวินโดวส์ให้เหลือคงเดิม
- Minimize ใช้ย่อเป็นแถบเล็ก ๆ เรียกว่าปุ่มแอพพลิเคชั่น
(Application Button) อยู่บน Taskbar
- Move ใช้ย้ายตำแหน่งของวินโดวส์
- Size ใช้กำหนดขนาดของวินโดวส์
- Size & Move เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดของวินโดวส์ (Border) ใน การแสดงบนจอ เพื่อความเหมาะสมเพราะบางครั้งเราอาจจะเปิดวินโดวส์ของโปรแกรมใช้งาน ขึ้นมาหลาย ๆ โปรแกรมพร้อมกันจึงจำเป็นต้องปรับขนาดของวินโดวส์ใหม่ เพื่อจะให้แต่ละ วินโดวส์แสดงให้เห็นบนจอได้และยังสามารถเคลื่อนย้ายวินโดวส์ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บนจอตาม ตัวอย่างจะได้

รูป แสดง หน้าที่ของ Size & Move

- Menu bar
เป็นแถบรายการคำสั่ง ซึ่งมีไว้สำหรับสั่งงานของโปรแกรมใช้งานต่าง ๆ แต่ ปัจจุบัน Windows Vista และ Office 2007 ได้พยายามเปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน ได้แก่ หน้าต่าง Windows Vista ถ้าเปิดครั้งแรกจะซ่อนเมนูไว้ ต้องคลิกเรียกมาจากแถบคำสั่งที่ปุ่ม Organize\Lay Out\Menu Bar ส่วนที่โปรแกรมของ Office 2007 จะไม่มีแถบเมนูเช่นนี้เลย ส่วนโปรแกรมอื่น ๆ ยัง มีใช้งานตามปกติ แต่จะมีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามหน้าที่และงานของโปรแกรมนั้น ๆ การ เลือกใช้เมนูสามารถใช้ได้ทั้งคีย์บอร์ดและเมาส์ คำสั่งบางคำสั่งอาจจะจบในตัวเอง และบางคำสั่ง อาจจะมีคำสั่งย่อยหรือมีเงื่อนไขทางเลือกอื่น ประกอบเรียกว่ากล่องโต้ตอบ (Dialog boxes) โดย ต้องกำหนดรายละเอียดก่อนจึงจะทำให้คำสั่งสมบูรณ์

คลิกเพื่อขยายภาพ

รูป แสดงหน้าตาของ Menu Bar

คลิกเพื่อขยายภาพ

คลิกเพื่อขยายภาพ

รูป แสดง การเปิดเมนูต่าง ๆ ขึ้นใช้งาน

เมื่อเปิดเมนูแล้ว จะเห็นคำสั่งในรายการคำสั่งที่เลือกนั้นอาจจะมีเครื่องหมาย
หรือสัญลักษณ์แสดงด้านหลังคำสั่งนั้น เพื่อบอกให้ทราบว่าถ้าเลือกคำสั่งนั้นแล้วผลเป็นอย่างไร ซึ่ง
มีสัญลักษณ์ต่าง ๆ ตามรูป ดังนี้

1. เป็นคำสั่งที่แสดงว่ามี Dialog boxes ที่ต้องตอบสนองวัตถุประสงค์ ของงานก่อน

2. เป็นคำสั่งที่อยู่ในสภาวะ On ถ้ามีเครื่องหมายถูก และ Off ถ้าไม่มี เครื่องหมายถูก

3. เป็นคำสั่งที่อยู่ในสภาวะการเลือกใช้กับเมนูอื่น ๆ

4. เป็นคำสั่งที่มีเมนูย่อยต่อไปอีก

5. เป็นคำสั่งลัดที่สามารถสั่งได้ด้วยคีย์บอร์ดโดยให้กดแป้นพิมพ์ตาม ตัวอักษรนั้นไม่ต้องเปิดเมนู

- Toolbar
เป็นแถบเครื่องมือในรูปแบบใหม่ ที่เป็นปุ่มคำสั่ง ทำงานทันที และปุ่มเมนู ทั้งนี้เพื่อความสะดวก และใช้งานคำสั่งได้รวดเร็วขึ้น

รูป แสดง Toolbar แบบใหม่ของ Vista

เมื่อเปิดหน้าต่างโปรแกรมหรืองาน ถ้าจะใช้คำสั่งอย่างรวดเร็วแล้ว การใช้ ปุ่มคำสั่งบนแถบเครื่องมือต่าง ๆ จะสะดวกและรวดเร็วกว่าการใช้เมนูคำสั่ง เพียงแต่ Windows Vista ได้ให้มา 2 ปุ่มมาตรฐานทุก ๆ หน้าต่าง คือ ปุ่ม Organize กับ Views ส่วนปุ่มอื่น ๆ จะ เปลี่ยนแปลงไปตามหน้าต่างงานนั้น ๆ ซึ่งมีแถบเครื่องมือต่าง ๆ ดังนี้

- Address Bar
เป็นแถบเครื่องมือบอกตำแหน่งที่อยู่ (ใช้บอกชื่อแทนแถบชื่อ) และสามารถ เลือกใช้รายการเก่าที่อยู่ในเมนู (Drop down List) หรือจะพิมพ์ตำแหน่งที่จะไปแล้วกดปุ่ม -> (Go) ที่ ปุ่มท้าย หรือใช้คลิกที่หัวลูกศรเปิดไปที่ระดับใด ๆ ก็ได้ ส่วนที่ด้านหน้าจะมีปุ่ม ก่อนหน้า (Back) ถัดไป (Forward) และปุ่มรายการให้เลือก

คลิกเพื่อขยายภาพ

รูป แสดง Address Bar แบบใหม่ของ Vista

- Search Bar
เป็นแถบเครื่องมือใหม่ที่มากับหน้าต่างทุก ๆ หน้าต่างของ Windows Vista ใช้สำหรับการค้นหา และสามารถกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่บานค้นหา (Search Pane) และ ค้นหาขั้นสูง (Advanced Search)

รูป แสดง Search Bar แบบใหม่ของ Vista

- Scroll bar
เป็นแถบสำหรับเลื่อนเอกสารขึ้นหรือลง ซ้ายหรือขวา ตามความต้องการ ของผู้ใช้ นอกจากการใช้คีย์บอร์ด เลื่อนเอกสารขึ้น (Page Up) หรือลง (Page Down)

รูป แสดง Scroll bar ในการเลื่อนดูรายละเอียดของหน้าต่าง

เมื่อเปิดหน้าต่างโปรแกรมหรืองาน ถ้ามีข้อมูลมาก เราอาจจะมองไม่เห็น รายละเอียดของข้อมูลในหน้าต่างนั้นได้หมด หน้าต่างจะสร้างแถบ Scroll bar ขึ้นให้เองทั้งใน แนวตั้ง (Vertical Scroll bar) และแนวนอน (Horizontal Scroll bar) ซึ่งมีวิธีการใช้แถบ Scroll bar ดังนี้

1. ปุ่มหัวลูกศร เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับเลื่อนหน้าจอไปตามที่เรา คลิกเมาส์ ทีละน้อย

2. พื้นที่ระหว่างปุ่มกับแถบเลื่อน เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับเลื่อน หน้าจอไปตามที่เราคลิกเมาส์ ทีละส่วน

3. แถบเลื่อน เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับเลื่อนหน้าจอไปตามที่เราลาก แถบเลื่อนไปตามที่ต้องการ

- Details Pane
เป็นบานที่แสดงรายละเอียดของไอคอนที่ได้คลิกเลือก

รูป แสดง Details Pane ในการแสดงรายละเอียดของฮาร์ดดิสก์ไดรว์ C:

- Preview Pane
เป็นบานที่แสดงภาพตัวอย่างของไอคอนบางชนิด

รูป แสดง Details Pane ในการแสดงภาพตัวอย่าง

- Status bar
เป็นแถบที่ใช้แสดงสถานะของงานที่ทำหรือที่นำเมาส์ไปชี้ ณ ตำแหน่งนั้น

คลิกเพื่อขยายภาพ

รูป แสดง แถบสถานะของหน้าต่าง

- Folder View
เป็นบริเวณที่แสดงรายละเอียดของโปรแกรมหรืองานในโฟลเดอร์นั้น

รูป แสดงการคลิกเลือก Computer จะแสดงรายละเอียดที่อยู่ภายใน Computer

- Window ในลักษณะต่าง ๆ
เมื่อเราเปิดโปรแกรมใช้งานขึ้นมาหลาย ๆ โปรแกรม ดังรูป

รูป แสดง ลักษณะของ Window ที่เปิดขึ้นมา

Active Window
วินโดวส์ของโปรแกรมที่พร้อมที่จะใช้งานหรือกำลังใช้งานอยู่ในขณะนั้น สังเกตได้จากสีของ Title bar จะมีสีเข้ม

Inactive Window
วินโดวส์ของโปรแกรมที่เปิดอยู่ แต่ไม่พร้อมที่จะใช้งาน สังเกตได้จากสี ของTitle bar มีสีจาง ถ้าต้องการใช้ให้คลิกปุ่มเมาส์ที่ส่วนใด ๆ ของวินโดวส์นั้นหรือกดปุ่ม ALT + TAB

Message Box หรือ Dialog box
วินโดวส์ของงานย่อยหรือเมนูย่อยที่ต้องการให้ข้อมูลหรือต้องการให้ผู้ใช้ จัดการกับงานของหน้าต่างนี้ให้แล้วเสร็จตามต้องการก่อน

รูป แสดง ลักษณะของหน้าต่าง Message Box ที่เปิดขึ้นมา

คลิกเพื่อขยายภาพ

รูป แสดง ลักษณะของหน้าต่าง Dialog boxes ที่เปิดขึ้นมา

คำสั่งที่มี…. ต่อข้างท้ายแสดงว่าจะต้องมี Dialog boxes ซึ่งแต่ละ Dialog boxes จะมีรายละเอียดต่าง ๆ ตามรูป ดังนี้

1) Tab เป็นแถบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งมีรายการคำสั่งหลัก หรือทางเลือก สำหรับใช้งาน การเลือกให้คลิกที่ แถบรายการที่ต้องการ
2) Text box เป็นกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้าใช้เติมข้อความ หรือตัวเลขโดยเลื่อน Mouse ไปคลิกที่ ext box แล้วเติมข้อมูลที่ต้องการ
3) Drop down list box มีเครื่องหมายปรากฏอยู่ เมื่อคลิกที่เครื่องหมายนี้ จะมีรายการให้เลือก ให้คลิกที่ตัวเลือกที่ต้องการ
4) Option Button มีเครื่องหมาย เป็นรูปวงกลมสำหรับให้เลือกราย การ ซึ่งถ้าเลือกรายการดวงกลมจะมีสีดำ ซึ่งจะเลือกได้ทีละ 1 รายการเท่านั้น
5) Check box มีเครื่องหมายเป็นรูปเล็ก ๆ เมื่อคลิกที่เครื่องหมาย ตัวเลือก จะเป็นเครื่องหมายถูก แต่ถ้าคลิกอีกครั้งก็จะถูกยกเลิกไปสามารถเลือกพร้อมกันหลาย ๆ รายการได้
6) Spinner จะมีเครื่องหมาย ปรากฏอยู่ใช้คลิกตรงลูกศรขึ้นหรือลงสำหรับ เลือกค่าตัวเลขที่ต้องการ
7) Command button เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพร้อมทั้งมีชื่อคำสั่ง การใช้ให้ คลิกตรงปุ่มคำสั่งนั้น ๆ
8) Slider เป็นแถบสำ หรับเลื่อนตามทิศทาง ซึ่งมีลักษณะเป็น Scale สำหรับเพิ่มค่ามากหรือน้อยตามต้องการ
9) Select item เป็นการเลือกรายการจากที่กำหนดให้
10) Job Area เป็นกรอบพื้นที่เฉพาะงานนั้น ๆ ซึ่งจะมีชื่องานอยู่ด้วย

- การออกจากระบบปฏิบัติการ Windows Vista
เมื่อต้องการออกจากวินโดวส์หลังจากใช้งานต่าง ๆ เสร็จสิ้นแล้ว จำเป็นต้องปิด งานหรือโปรแกรมต่าง ๆ ทั้งหมดก่อน แล้วจึงกดปุ่ม Start\Shut Down เพื่อปิดวินโดวส์ก่อนที่จะปิด เครื่องคอมพิวเตอร์ (Board ของเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่: ATX จะปิดเครื่องด้วยตนเอง) ขั้นตอน ในการออกจากวินโดวส์ มีดังต่อไปนี้

1. กรณีปกติ
- ปิดโปรแกรมประยุกต์ทั้งหมดที่เปิดใช้งานอยู่
- คลิกที่ปุ่ม Start คลิกปุ่ม Turn Off หรือ เมนูแล้วเลือก Shut Down ใช้สำหรับปิดเครื่องหยุดการใช้พลังงาน Restart ใช้สำหรับบู๊ตวินโดวส์ใหม่ Switch User สลับผู้ใช้ Log Off ออกจากผู้ใช้ขณะนั้น

รูป แสดง ลักษณะการออกจากระบบปฏิบัติการ Windows Vista

2. กรณีปิดโปรแกรมและปิดเครื่องไม่ได้
เมื่อใดที่โปรแกรมของเราที่กำลังเปิดขึ้นใช้งานอยู่เกิดอาการรวน หรือมี ปัญหา เช่น หน้าจอการแสดงผล ไม่สามารถคลิกหรือสั่งงานใด ๆ ได้ หรือที่เรียกกันว่า โปรแกรม ไม่มีการตอบสนอง (Not Responding) เป็นปัญหาที่เรียกว่า เกิดจากเสถียรภาพของวินโดวส์ที่ไม่ดี นัก ซึ่งมีปัญหากับวินโดวส์ในทุกเวอร์ชันที่ผ่านมา และทางบริษัทไมโครซอฟท์ได้พยายามพัฒนา เพื่อเพิ่มเสถียรภาพให้ดีขึ้นอยู่เสมอ โดย Windows Vista จะมีเสถียรภาพมากกว่าทุกรุ่น อาการที่ เครื่องไม่ตอบสนองมีหลายแบบด้วยกัน ซึ่งเกิดจากสาเหตุหลายประการ อาจจะเป็นที่ฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ก็ได้ เรียกโดยรวมว่า แฮงก์ (Hang) คือ เครื่องจะมีอาการที่เราไม่สามารถทำอะไรได้ เลย ไม่ว่าจะขยับเมาส์หรือกดคีย์บอร์ด ทางออกของเราก็คือ กดปุ่ม Reset บน Case แต่ถ้าไม่มีปุ่ม Reset บน Case ก็คงต้องปิดเครื่องทิ้งไว้สักครู่แล้วจึงค่อยเปิดใหม่ ถ้ายังสมารถใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด สั่งงานได้ ก็เรียก Windows Task Manager มาปิดงาน โดยคลิกขวาที่ Taskbar เลือก Task Manager หรือ กดปุ่มคีย์บอร์ด Ctrl + Alt + Del ก็จะเปิดกล่องโต้ตอบ Windows Task Manager ให้เลือก รายการที่ไม่ตอบสนอง คลิกปุ่ม End Task เพื่อปิดงาน แล้วคลิกปุ่ม End Now อีกครั้งถ้ามีกล่อง โต้ตอบขึ้นมาอีก ถ้าอาการหนัก อาจต้องคลิกหลายครั้งกว่าจะปิด หรือไม่สามารถปิดเลยก็ได้

รูป แสดงการปิดโปรแกรมหรืองานในกรณีที่เครื่องไม่ทำงานด้วย Windows Task Manager